การเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร?

การเขียนบทที่ 1 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากว่าผู้ศึกษาจะต้องไปศึกษาว่าหลักการของการทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่ทำมีความสำคัญอย่างไร มีปัญหาอย่างไร ทำไมถึงต้องทำเรื่องนี้ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะทำให้ผู้ศึกษาสามารถชี้ประเด็นให้เห็นถึงปัญหาของเรื่องที่ศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นผู้ศึกษาจะต้องทำการศึกษาว่าในบทที่ 1 นั้นจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นภูมิหลังของการวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายของการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตของงานวิจัย ซึ่งท่านจะสามารถนำขั้นตอน และเทคนิคในการทำวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ที่กล่าวไว้้ในบทความนี้ไปปรับใช้ได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. การเขียนภูมิหลังของการวิจัย

ภูมิหลังของการวิจัยหรือบทนำนั้นเปรียบเสมือนการเล่าเรื่องให้ผู้้อ่านฟัง ดังนั้นภูมิหลังจะทำหน้าที่เป็นการแนะนำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านงานของผูู้ที่ศึกษาได้รู้ความเป็นมา หลักการ เหตุผล ความสำคัญ และปัญหาของวิทยานิพนธ์ เป็นการตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงผู้ศึกษาถึงจะต้องทำเรื่องนี้ขึ้นมา โดยทั่วไปจะเขียนประมาณ 3-5 หน้า และจะมีย่อหน้าไม่เกิน 7 ย่อหน้า และแต่ละย่อหน้าต้องมีเนื้อหาที่เนื้อหาที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ผูู้ศึกษาจะทำ ซึ่งเทคนิคในการเขียนภูมิหลังที่ดี ต้องชี้เห็นถึงปัญหาความสำคัญชัดเจนของประเด็นที่ศึกษา ชี้ถึงแนวโน้มในอนาคต มีการใช้ภาษาที่ถูกต้องในการเขียน  และจะไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวในการเขียน แต่ประเด็นต้องมีความชัดเจน สั้น ได้ใจความที่สำคัญชี้ถึงปัญหา และอยู่ในกรอบของการวิจัยที่ตั้งไว้ เพื่อที่จะได้ไม่หลงประเด็นในการเขียน

2. การเขียนวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของงานวิจัย

การเขียนวัตถุประสงค์หรือการตั้งจุดมุ่งหมายของงานวิจัย จะตั้งเป็นข้อหรือไม่เป็นข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะทำการศึกษา โดยการตั้งจุดมุ่งหมายของงานวิจัยต้องมามาจากเรื่อง และตัวแปรของการวิจัยโดยจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” แล้วตามด้วยชื่อวิจัย ซึ่งเทคนิคในการตั้งจุดมุ่งหมายต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซ้ำซ้อน เป็นประโยคบอกเล่า สามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหรือหัวข้อจุมุ่งหมายของวิจัย

3.ประโยชน์ของการวิจัย

ประโยชน์ของการวิจัยนั้นเป็นตัวที่บ่งชี้ว่า หลังจากที่ทำเสร็จแล้วผู้ศึกษาจะได้อะไรจากงานบ้าง ซึ่งเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเทคนิคในการตั้งประโยชน์ของการวิจัยควรอยู่ในขอบเขตการวิจัย ไม่ควรอ้างประโยชน์ของการวิจัยที่เกินขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษา ควรเขียนความสำคัญให้ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

4. กรอบแนวคิดของการวิจัย

กรอบแนวคิดของการวิจัย ถือเป็นแผนที่ของการทำวิจัยเลยก็ว่าได้ ส่วนใหญ่จะพบในงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกรอบแนวคิดจะต้องระบุว่างานวิจัยชิ้นดังกล่าวมีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรแต่ละอย่างที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และแต่ละตัวแปรที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีความสอดคล้องกับตรงกับทฤษฎีที่เลือกมาศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะศึกษา

5. ขอบเขตของการวิจัย

ขอบเขตของการวิจัยเป็นการระบุว่าวิจัยนั้นจะทำในเรื่องอะไร มีขอบเขตที่กว้างหรือแคบ จะทำการศึกษากับใคร จะมีส่วนประกอบย่อยได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เนื้อหาที่ใช้ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยจะแบ่งเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนจบใช้เวลาเท่าไร

6. สมมติฐานของการวิจัย

สมมติฐานการวิจัยจะเป็นกล่าวถึงข้อสันนิฐาน การคาดคะเนผลการวิจัยนั้น ว่าค้นพบอย่างไร โดยจะต้องเขียนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย สามารถกำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งผูู้ศึกษาจะต้องสามารถทดสอบสมมติฐานดังกล่าวได้จากหลักการและเหตุผลทางทฤษฎีที่ได้้ศึกษามา และต้องใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

นิยามศัพท์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องมีในงานวิจัย เพราะงานวิจัยแต่ละงานจะมีการให้นิยาม ความหมายของคำหรือบริบทในเรื่องที่ศึกษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นคำบางคำผู้ศึกษาอาจไม่สามารถที่จะอธิบายข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ การให้คำอธิบายเพื่อขยายความคำศัพท์คำนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะอธิบายให้ผู้อ่านได้เข้างานของเราได้อย่างถูกต้อง และตรงประเด็นมากที่สุด ซึ่งเทคนิคในการเขียนนิยามศัพท์ ผู้ศึกษาจะต้องเลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้อง หรือเลือกคำที่ต้องการจะเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจ มาอธิบายหรือขยายความให้ตรงกับความหมายที่ผู้ศึกษาต้องการจะสื่อสาร แต่ถ้าคำศัพท์ดังกล่าวยกมาจากบุคคลอื่นก็ควรที่จะใส่อ้างอิงด้วย และต้องเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย เพื่อให้เครดิตแก่บุคคลที่ศึกษามา

หากทำตามเทคนิคต่างๆ ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในบทความนี้ ผู้ศึกษาที่พึ่งเริ่มต้นและยังไร้ทิศทางในการเขียนบทที่ 1 ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยที่ท่านกำลังเขียนอยู่ได้อย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ และอาจเป็นแผนนำทางที่ดีในการเริ่มต้นที่จะทำวิทยานิพนธ์ให้ประสบความสำเร็จจนจบการศึกษานี้ได้เลยค่ะ

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

การเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร

การเขียนบทที่ 1 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิทยานิพนธ์ มีหลักการว่าวิทยานิพนธ์ที่ทำมีความสำคัญและปัญหาอย่างไรถึงต้องทำเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนี้ การแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ชัดเจน มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ภูมิหลัง จุดมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตของงานวิจัย ท่านจะสามารถนำขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ดังต่อไปนี้

1. การเขียนภูมิหลังที่ดี

ภูมิหลังจะทำหน้าที่แนะนำให้ผู้อ่านงานได้รู้ความเป็นมา หลักเหตุผล ความสำคัญ และปัญหาของวิทยานิพนธ์ เป็นการตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา โดยทั่วไปจะเขียนประมาณ 3-5 หน้า และจะมีย่อหน้าไม่เกิน 7 ย่อหน้า ให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ทำ ต้องชี้ถึงปัญหาความสำคัญชัดเจน ชี้ถึงแนวโน้มในอนาคต ภูมิหลังที่ดีต้องอยู่ในกรอบของวิจัย ให้ภาษาที่ถูกต้องในการเขียน การเขียนภูมิหลังไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวของแค่ความชัดเจนสั้นได้ใจความที่สำคัญชี้ถึงปัญหา และให้อยู่ในกรอบของการวิจัยที่ตั้งไว้

2. การเขียนวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของงานวิจัย

การตั้งจุดมุ่งหมายจะตั้งเป็นข้อหรือไม่เป็นข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะทำการศึกษา จุดมุ่งหมายของงานวิจัยมาจากเรื่อง และตัวแปรของการวิจัยเอามาตั้งเป็นจุดมุ่งหมาย ส่วนให้การตั้งจุดมุ่งหมายจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” แล้วตามด้วยชื่อวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่ายไม่ซ้ำซ้อน เป็นประโยคบอกเล่า สามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหรือหัวข้อจุดมุ่งหมายของวิจัย

3. การเขียนความสำคัญของการวิจัย

เป็นตัวที่บ่งชี้ว่าหลังจากที่ทำเสร็จแล้วจะได้อะไรจากงานบ้าง ความสำคัญของการวิจัยเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับ อยู่ในขอบเขตไม่ควรอ้างความสำคัญของการวิจัยเกินขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาเขียนความสำคัญให้ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

4. กรอบแนวคิดของการวิจัย

ถือว่ามีความสำคัญหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะศึกษา และประเภทของงานวิจัย กรอบแนวคิดต้องระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรแต่ละอย่างที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และแต่ละตัวแปรที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีพื้นฐานทางทฤษฏีความมีเหตุมีผล หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะศึกษา

5. ขอบเขตของการวิจัย

เป็นการระบุว่าวิจัยนั้นจะทำในเรื่องอะไร มีขอบเขตที่กว้างหรือแคบ จะทำการศึกษากับใคร จะมีส่วนประกอบย่อยได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เนื้อหาที่ใช้ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยจะแบ่งเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนจบใช้เวลาเท่าไร

6. สมมติฐานของการวิจัย

จะเป็นกล่าวถึงข้อสันนิฐานคาดคะเนผลการวิจัยนั้นว่าค้นพบอย่างไร เขียนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ที่ชัดเจนไม่ควรเขียนในรูปของสมมติฐานสามารถทดสอบได้เขียนจากหลักการและเหตุผล และยังคงใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะผู้ที่วิจัยไม่สามารถที่จะอธิบายข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ การให้คำอธิบายที่จำเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ให้เลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้องเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจ สามารถเลือกใช้งานที่เหมาะสม ถ้ายกมาจากบุคคลอื่นควรที่จะใส่อ้างอิงถึง และต้องเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย

หากทำตามวิธีที่บอกไว้ข้างต้นก็จะเป็นการเริ่มต้นการเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ สามารถประยุกต์ใช้กับงานวิจัยที่เขียนทำให้เขียนบทที่ 1 เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาทันที

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *