หลายครั้งที่ผู้ทําวิจัยส่วนใหญ่รู้สึกว่า การทำวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องยาก ทําให้ไม่สามารถทำงานให้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ ที่ผู้วิจัยส่วนใหญ่ประสบนั้น ในความเป็นจริงนั้น คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับ “คน” ซึ่งไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับเนื้อหาหรือขั้นตอนในการทำงานวิทยานิพนธ์เลย
ด้วยเพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับคน จึงเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก โดยเฉพาะปัญหาในการเจรจา ติดต่อนัดหมายกับ “อาจารย์ที่ปรึกษางานวิทยานิพนธ์” ซึ่ง ก็ต้องยอมรับว่า การติดต่อ หรือการประสานงานกับอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยมือใหม่หลายท่านนั้น ประสบกับปัญหาอยู่ และเป็นมุมมอง กับความความคิดเห็นที่ว่า
“อาจารย์ที่ปรึกษาพูดเร็ว ฟังไม่ทัน ให้คําแนะนําไม่รู้เรื่องเลย …”

เป็นปัญหาหลักต่อการทำงานที่ส่งผลกระทบในด้านการศึกษา “ตัวแปร” ที่เกี่ยวข้องของหัวข้องานที่จำเป็นต้องศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือทดสอบผลการทำวิทยานิพนธ์ต่างๆ
ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้วิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่ ไม่สามารถทำงานวิทยานิพนธ์ต่อได้กันเยอะมาก เนื่องจาก :
“หาข้อมูลมาแล้ว แต่ว่าไม่ตรงกับความต้องการ หรือ ไม่ตรงกับสิ่งที่อาจารย์เขาแนะนํามา …”
เหตุผล เพราะในการติดต่อหรือการส่งงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยเพื่อรับฟังคำแนะนำแต่ละครั้งนั้น เป็นการให้คําแนะนําแบบปากเปล่า ส่วนใหญ่จะไม่ใช้การเขียนแนะนํา

หากลองปรับวิธี เป็นการเขียนแนะนําแนวทาง หรือการเพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูลงานวิทยานิพนธ์ในจุดต่างๆ ได้ จะทำให้ผู้วิจัยสามารถแก้ไข เพิ่มเติมเนื้อหางานวิทยานิพนธ์ได้อย่างถูกต้อง และง่ายดายกว่า การฟังคําแนะนํา หรือบันทึกคลิปเสียงเพียงอย่างเดียว
เพราะ การทํางานวิทยานิพนธ์มีลักษณะกระบวนการทำงาน หรือขั้นตอนที่ค่อนข้างตายตัว ถ้าหากทำการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลมาเป็นอย่างดีแล้ว การทำงานวิทยานิพนธ์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ฉะนั้น เพียงแค่ลองปรับเปลี่ยนมุมมอง และทัศนคติในการทำงานวิทยานิพนธ์ ปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ที่เกิดจาก “คน” ซึ่งก็คือ “การสื่อสาร” ที่เป็นข้อผิดพลาดระหว่าง “ผู้วิจัย กับ อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย” ที่ทำให้มุมมอง และทัศนคติในการทำงานวิทยานิพนธ์ไม่ตรงกันจะเปลี่ยนไป แล้วการทำงานวิทยานิพนธ์ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป…
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)
