“ทำอย่างไรถึงจะเขียนบทความวิจัยของตนเองให้น่าสนใจ?”
ผู้วิจัยหลายท่านที่ทำเล่มงานวิจัยบทที่ 1 ถึง 5 เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะตีพิมพ์งานวิจัย แต่กลับมีความสงสัยเพิ่มว่า ในเมื่อทำเล่มงานจบแล้ว แต่ทำไมจะต้องทำเขียนบทความวิจัยเพิ่มด้วย นอกเหนือไปจากการเขียนตามข้อกำหนดของวารสารที่จะส่งตีพิมพ์แล้ว ผลงานวิจัยของตนเอง
ซึ่งในบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัย และแนะนำวิธีการเขียนบทความวิจัยว่าควรเขียนอย่างไรให้น่าสนใจ

การเขียนบทความวิจัย คือ การเขียนโดยสรุป ซึ่งจะย่อรวมเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญทั้งหมดของเล่มงานวิจัยใส่ลงไปในบทความ เพื่อให้ผู้ที่สนใจรับรู้ได้ว่า งานวิจัยหัวข้อนี้ศึกษาเรื่องอะไร มีกระบวนการในการศึกษาอย่างไร และสามารถแก้ไขปัญหา รวมทั้งการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านใดได้บ้าง
… 3 เทคนิคการเขียนบทความวิจัยให้น่าสนใจ และดึงดูดความสนใจผู้อ่าน…
1. สรุปย่อนำเสนอด้วยผลลัพธ์
การสรุปย่อนำเสนอด้วยผลลัพธ์ที่น่าสนใจเหมือนการเขียนคำเกริ่นนำที่ดึงดูดผู้อ่าน เพื่อที่จะนำมาสู่การอ่านงานวิจัย หรือบทความฉบับเต็มต่อไป โดยเฉพาะการเขียนบทสรุปของงานวิจัยที่มีผลลัพธ์ที่น่าติดตาม ที่ใช้ประโยคข้อความที่มีความทันสมัย และเข้าใจง่ายโดยที่ไม่มีการใช้ศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิชาการมากเกินไป

เนื่องจาก บทสรุปงานวิจัยนั้นจำเป็นที่จะต้องนำไปเผยแพร่ เพื่อที่จะให้บุคคลที่สนใจสารมารถอ่านเข้าใจได้โดยง่ายทันที จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกเว้นในคำศัพท์ที่เป็นเชิงเทคนิคหรือเชิงวิชาการมากเกินไป
เพราะการเขียนศัพท์เทคนิคหรือศัพท์เชิงวิชาการ อาจจะทำให้ผู้อ่านทั่วไปที่เป็นประชาชนหรือนักศึกษาที่ไม่ได้มีความรู้เฉพาะไม่เข้าใจ จะทำให้เนื้อหาบทความวิจัยนั้นๆ ไม่มีความน่าดึงดูดต่อการอ่านบทความวิจัย วารสาร หรือเล่มงานวิจัยฉบับเต็ม
ดังนั้น การยกเว้นหรือพยายามที่จะปรับภาษาในการเขียนบทสรุปให้น่าสนใจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นักวิจัยมือใหม่ทุกท่านจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงในการเขียนบทความวิจัยทุกครั้ง
2. แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
แหล่งข้อมูลงานวิจัยที่ใช้ในการอ้างอิงในบทความวิจัยนั้นจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ นอกจากการย่อสรุปเนื้อหาให้กระชับ และเข้าใจได้ง่ายแล้ว การเพิ่มเติมเนื้อหาบทความ และเพิ่มเติมแหล่งอ้างอิงที่ย่อสรุปนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

เนื่องจากว่าการอ้างอิงแต่ละครั้งนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้แหล่งอ้างอิงที่มีความทันสมัย และได้รับความน่าเชื่อถือ หรือสถาบันที่ได้รับความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง ถ้าหากแหล่งอ้างอิงที่ท่านนำมาใช้ในการอ้างอิงนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ ก็อาจจะทำให้เนื้อหาบทความงานวิจัยที่ท่านนำเสนอนั้น ไม่ได้รับความน่าเชื่อถือตามไปด้วย
3. แผนภาพสามารถช่วยสร้างความน่าสนใจให้มากขึ้น
การนำสรุปงานวิจัยในบทความวิจัยนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องนำเสนอแต่เพียงแผนผัง หรือเป็นตารางที่น่าเบื่อ แต่ท่านสามารถที่จะออกแบบกราฟิกดีไซน์ที่เป็นรูปแบบแผนภาพ หรือ อินโฟกราฟิกดีไซน์ที่น่าสนใจ เพื่อแทรกเข้าไปในเนื้อหาบทความได้

เนื่องจากว่าเนื้อหาบทความของวารสารแต่ละที่นั้น ส่วนใหญ่แล้วอนุญาตให้ท่านสามารถนำเสนอบทความ หรือเนื้อหาสรุปจากเล่มงานวิจัยของท่านเป็นแผนภาพได้ การออกแบบแผนภาพ หรืออินโฟกราฟิกดีไซน์ที่ทันสมัย จะช่วยให้ท่านนั้นสามารถที่จะนำเสนอบทความวิจัย หรือผลการวิจัยของท่านให้มีความน่าสนใจมากขึ้นได้
ดังนั้น การเขียนบทความวิจัยให้น่าสนใจ จำเป็นที่จะต้องตระหนักถึง การนำเสนอที่เป็นภาษาที่ทันสมัย เข้าใจได้โดยง่าย มีแหล่งข้อมูลงานวิจัยอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และมีการนำเสนอด้วยรูปภาพประกอบ หรืออินโฟกราฟิกดีไซน์ที่สามารถอ่านแล้วกระชับ สื่อความถึงผลลัพธ์ของการวิจัยของท่านได้ครบถ้วน
